วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

1.นายธีรพัฒน์ โนจิตร เลขที่ 19

2.นายพีระ กาศยปนันท์ เลขที่ 21

3.นายเตชินทร์ มณีศร เลขที่ 26

4.นางสาวธัญวรัตน์ ขำรักษ์ เลขที่ 29

5.นางสาวกมลพัชร์ สิงหรัตน์ เลขที่ 30

6.นางสาวปรวรรณ รอดบุญชัยเลขที่ 43

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สมุนไพรคลุมดิน

Free Counters
Free Counters

ก้ามปูหลุด




ชื่ออื่น ๆ : ปีกแมลงสาบ (ทั่วไป) ก้ามปู ก้ามปูหลุด (กรุงเทพฯ)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zebrina pendula (Schnizl)
วงศ์ : COMMELINACEAE
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นเลื้อย มีปลายยอดตั้งชูขึ้นลำต้น สูงประมาณ 1-2 ฟุต
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปรีขอบขนาน ปลายใบแหลมเรียวโคนใบมนเบี้ยว ใต้ท้องใบมีสีแดงอมม่วง ส่วนหลังใบเป็นสีเขียวอ่อน และบริเวณขอบใบหรือเส้นกลางใบมีสีแดงอมม่วง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-.1 นิ้ว ก้านใบสั้นมีขนขึ้นเล็กน้อย
ดอก : ดอกออกเป็นกระจุกบริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีสีขาว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นท่อ ยาวประมาณ 7-10 มม. กลางดอกมีเกสรตัวผู้ 6 อัน มีขนขึ้นประปราย
ผล : ผลมีลักษณะยาวรี ผลเมื่อแก้เต็มที่จะแตกอ้าออก ไปตามความยางของผลระหว่างช่อง ภายในผลมีเมล็ด 1-2 เมล็ด
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันทั่วไปจัดว่าเป็นไม้ประดับ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือการแยกลำต้น
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ
สรรพคุณ : ลำต้น เป็นยารักษาแผลไฟไหม้ ลำต้นและใบ ใช้ต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้กระหายน้ำ หรือใช้กาก พอกบริเวณที่เป็นฝี ใบ ใช้ต้มกินน้ำ ช่วยลดอาการบวม
ถิ่นที่อยู่ : ก้ามปูหลุด เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของประเทศเม็กซิโก
หมายเหตุ : ” ก้ามปู ก้ามปูหลุด (กรุงเทพฯ) “in Siam. Plant Names, 1948,p.502 ” Wondering Jew”




โคกกระสุน




ชื่อสามัญ Caltrops
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tribulus cistoides Linn.
ชื่ออื่น หนามกระสุน
วงศ์ Zygophyllaceae
ลักษณะพฤษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุกเป็นเถาเลื้อยคลุมดิน การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดี่ยว ใบย่อยออกเรียงตรงกันข้ามเป็นคู่ 5-7 คู่ ใบย่อยรูปทรงขอบขนาน ขนาดประมาณ 2.5x6.8 เซนติเมตร ปลายใบแหลมมน โคนกลมมนมีเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกออกที่ปลายกิ่ง เป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองสด กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 5-10 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ 5 อัน สีเหลือง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ทรงกลมมี 4 พู ผิวเป็นหนามแหลมทั้งหมด ผลเป็นแบบแห้งแล้วแตก ทรงกลมเปลือกผลหนาแข็งเป็นหนามแหลม ใน 1 พู มี 2- 5 เมล็ด
สรรพคุณด้านสมุนไพร ผลแห้ง ต้มดื่มน้ำ ทำเป็นยาบำรุงตับ ไต กระดูก สายตา แก้ปวดทางเดินปัสสาวะ รักษาหนองใน ขับระดูขาว ช่วยให้คลอดบุตรง่าย ลดความดันโลหิตสูง และช่วยป้องกันอาการชักบางประเภท


ดาดตะกั่ว




ชื่อสามัญ Redivz
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hemi Graphis
ถิ่นกำเนิด เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย
ลักษณะ ทั่วไป
ดาดตะกั่วเป็นไม้ประดับประเภทคลุมดินที่มีสีสันสวยงาม แปลกตามากดาดตะกั่วมีใบรูปหัวใจ
ขอบใบหยัก ผิวใบด้านบนมีสีคล้ายโลหะ เมื่อถูกแสงจะมีประกายสวยงาม ส่วนใบด้านล่าง
จะมีสีแดงอมม่วง ดาดตะกั่วสามารถทนต่อการขาดน้ำได้ระยะหนึ่ง ส่วนมากนิยมใช้ประดับตาม
ส่วนหย่อมหรือปลูกประดับเอาไว้ให้โคนต้นไม้หรือตามโขดหิน
การดูแลรักษา
แสง ชอบแสง แต่ควรมีร่มเงาบ้าง
น้ำ ต้องการน้ำในปริมาณที่น้อยแต่บ่อยครั่ง (ควรให้น้ำ ๆ 2-3 วัน)
ดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย
ปุ๋ย ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละประมาณ 2 ครั่ง
การขยายพันธุ์ โดยการตัดพันชำ
โรคและแมลง ไม่ค่อยพบโรคและแมลงรบกวน

น้ำนมราชสีห์




ชื่อสมุนไพร : น้ำนมราชสีห์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia hirta Linn.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่ออื่น : นมราชสีห์ ,ผักโขมแดง ,หญ้าน้ำหมีก ,หญ้าหลังอึ่ง Garden spurge
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชล้มลุก ขนาดเล็ก ลำต้นมีขนสีน้ำตาลปนเหลือง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปรี ปลายใบแหลมสั้น ฐานใบสอบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบหยักเล็ก ๆ แบบฟันเลื่อย ผิวใบมีขนทั้ง 2 ด้าน ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกแยกเพศไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ใบประดับเป็นรูปถ้วยสีเขียว เกสรผู้มี 5 เกสร เกสรเมีย 1 รังไข่รูปกลมแกมสามเหลี่ยม ผลแห้งแตกได้ 3 พู เมื่อสุกสีเหลืองอ่อน
ส่วนที่ใช้ : ราก
สรรพคุณ : รสขมมัน ใช้บำรุงน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลืองแดงขุ่นข้น
วิธีใช้/ข้อควรระวัง : ราก
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ : การทดสอบความเป็นพิษ-ผสมน้ำนมราชสีห์ 5 % ในอาหารให้หนูขาวกิน 97 วัน ไม่เกิดพิษ น้ำสกัดต้นน้ำนมราชสีห์ ป้อนหรือฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาด 6.0 ก/กก ไม่มีอาการพิษเกิดขึ้น สารสกัดด้วย 50 % เอทานอล ป้อนหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูถีบจักรขนาด 10 ก/กก ไม่ทำให้เกิดพิษ สารสกัดด้วย 50 % เอทานอล ป้อนหนูถีบจักร ขนาด 1000 มก/กก ป็นขนาดสูงสุดที่ทำให้



ผักคราดหัวแหวน




Para Cress
Spilanthes acmella Murr.
ASTERACEAE
ชื่ออื่น ผักคราด ผักตุ้มหู ผักเผ็ด
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก สูง 30 - 40 ซม. ลำต้นค่อนข้างกลม อวบน้ำ อาจมีสีม่วงแดง ต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปสามเหลี่ยม กว้าง 3 - 4 ซม. ยาว 3 - 6 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ รูปกรวยคว่ำ สีเหลืองอ่อน
ผลแห้ง รูปไข่
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ต้น - ใช้ต้นสดตำผสมเหล้า หรือน้ำส้มสายชู อมแก้ฝีในลำคอ หรือต่อมน้ำลายอักเสบ ทำให้ลิ้นชา แก้ไข้ ยาพื้นบ้านใช้อุดแก้ปวดฟัน พบว่าใบ ช่อดอก และก้านช่อดอกมีสาร spilanthol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ การทดลองฤทธิ์ชาเฉพาะที่ในสัตว์ และคนปกติ โดยใช้สารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์เทียบกับยาชา lidocaine พบว่าได้ผลเร็วกว่า แต่ระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้นกว่า อยู่ระหว่างการวิจัย เพื่อใช้เป็นยาชาอุดแก้ปวดฟัน


ผักบุ้งทะเล




ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea pes - caprae (Lin.X Sweet)
วงศ์ Convolvaceae

ชื่อท้องถิ่น ละบูเลาห์ (นราธิวาส)

ลักษณะของพืช » ผักบุ้งทะเลเป็นพืชที่มีเถาเลื้อย ลำต้นทอดไปตามยาวบนพื้นดิน
ใบเป็นรูปหัวใจปลายเว้าเข้าหากัน ใบหนา หักง่ายดอกเหมือนดอกผักบุ้ง มีผลเล็ก กลม

การปลูก »
ปลูกได้โดยใช้เมล็ดและปักชำ พบเห็นทั่วไปตามธรรมชาติบริเวณริมทะเล
เป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้ง

ส่วนที่ใช้เป็นยา »
ใบและเถาสด

รสและสรรพคุณยาไทย »
ถอนพิษลมเพลมพัด (อาการที่บวมเปลี่ยนที่ไปตามอวัยวะทั่วไป)
ต้มยาใช้อาบแก้อาการคันตามผิวหนัง ผักบุ้งทะเลมีพิษ ถ้ารับประทานจะเกิดอาการเมา
คลื่นไส้ วิงเวียน

ช่วงเวลาที่เก็บยา »
เก็บใบขนาดกลางที่มีความสมบูรณ์เต็มที่


ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ »
ใบผักบุ้งทะเลมีน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)
มีกรดอินทรีย์ และมีสารอื่นๆ มีฤทธิ์แก้อาการแพ้ จากการทดลอง
พบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านฮีสตามินและยับยั้งพิษของแมลงกะพรุนได้


วิธีใช้ »
การใช้ผักบุ้งทะเลรักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย
(โดยเฉพาะพิษของแมงกะพรุน) ทำได้โดยการเอาใบและเถาผักบุ้งทะเลมา 1 กำมือ
ล้างให้สะอาดแล้วเอาไปโขลกตนละเอียด คั้นเอาน้ำทาในบริเวณที่
เกิดอาการบวมแดงบ่อยๆ ทาวันละ 2-3 ครั้ง เช้า กลางวันและเย็นจนอาการหาย


ผักแพรวแดง




ผักแพวแดง, ผักแผ่วแดง, ผักแผ่วสวน, อีแปะ
Iresin herbstii Hook. AMARANTHACEAE
เป็นไม้ขนาดเล็กลำต้นตั้งเหนือดินสูงราว 1-2 ฟุต ใบเดี่ยวกลม ขอบห่อโค้งขึ้นมารอบ แผ่นใบเป็นลอน เกลี้ยงมัน ต้นสีแดงสด ใบสีแดง มีลายสีเขียวอมน้ำตาลแทรก รากมีกาบสีน้ำตาลอมแดงห่อหุ้มหนาแน่น เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าในป่าดงดิบเขาสูง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ
ราก รสร้อนเผ็ด แก้ลม แก้ธาตุพิการ แก้ริดสีดวง แก้หืด แก้ไอ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น อืด เฟ้อ ตุกเสียด ขับผายลม แก้ท้องมาน แก้กระเพาะอาหารพิการ แก้อุจจาระพิการ แก้เส้นประสาทพิการ แก้ปวดเมื่อยตามข้อกระดูก

ใบ รสร้อน แก้ริดสีดวงแห้ง แก้หืดไอ บำรุงประสาท


พระจันทร์ครึ่งซีก




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lobelia chinensis Lour.
วงศ์ : Campanulaceae
ชื่ออื่น : บัวครึ่งซีก (ชัยนาท)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นขนาดเล็ก ตามข้อมีรากออก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ชูส่วนยอดขึ้น มียางสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 0.2-0.6 ซม. ยาว 1-2 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบตัด ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตื้นเกือบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบสั้นมาก ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีม่วงอ่อน กลีบเลี้ยงสีเขียวอมม่วง มี 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก หลอดดอกแยกผ่าออก ทำให้กลีบดอกเรียงเพียงด้านเดียว หลอดดอกด้านนอกมีขนสีขาว ผล เป็นผลแห้ง แตกออกได้
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นสด ขณะที่ดอกกำลังบาน
สรรพคุณ :
ลดไข้ แก้หอบหืด บำรุงปอด แก้อาเจียนเป็นเลือด วัณโรค ปอดพิการอักเสบ ทอนซิลอักเสบ เจ็บคอ ตาแดง ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อักเสบ บิด ขับปัสสาวะ (เพื่อลดอาการบวมจากไตอักเสบ) ท้องมาน (เนื่องจากพยาธิใบไม้ในเลือดและดีซ่าน) ยาแก้มะเร็ง กระเพาะอาหาร หรือที่ทวารหนัก แก้ข้ออักเสบ เคล็ดขัดยอก บวมเจ็บ ฝี แผลเปื่อย บาดแผล กลากเกลื้อน ผื่นคัน และแก้คัดจมูก หรือโรคแพ้ เนื่องจากการใช้ยา เข้ารากย่อม
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในคนที่มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อุจจาระหยาบเหลว (จีนเรียก ม้ามพร่อง)
ตำรับยาและวิธีใช้
• แก้อาเจียนเป็นเลือด ใช้ต้นสดตำผสมกับสุราเล็กน้อย รับประทาน
• ท้องเสีย ใช้ต้นสด 15- 30 กรัม (1 กำมือ) ต้มน้ำดื่ม
• ทอนซิลอักเสบ ใช้ต้นสดตำให้ละเอียด ปั้นเป็นก้อนขนาดไข่ไก่ ใส่ในถ้วย เติมเหล้าเข้าไป 90 ซีซี. ผสมให้เข้ากัน คั้นเอาน้ำแบ่งอม 3 ครั้งๆ ละ 10-20 นาที แล้วบ้วนทิ้ง
• บิด ใช้ต้นสด 60 กรัม ต้มน้ำ เติมน้ำตาลแดงดื่ม
• บวมน้ำ (เพราะไตอักเสบ) ท้องมาน (เนื่องจากพยาธิใบไม้) ใช้ต้นสด 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม
• ดีซ่าน ขัดเบา บวมน้ำ ใช้ต้นสด 30 กรัม ผสมกับรากหญ้าคา ( Imperata cylindrica Beauv ) 30 กรัม ต้มน้ำใส่น้ำตาลทราย แบ่งกิน 2 ครั้ง เช้า-เย็น
• เคล็ดขัดยอก บวมเจ็บ ใช้ต้นสด 60 กรัม น้ำ 180 ซีซี. ต้มให้เหลือ 90 ซีซี. กรองเอาน้ำเก็บไว้ นำกากที่เหลือไปต้มอีกครั้งตามอัตราส่วนเดิม นำน้ำกรองครั้งที่ 2 รวมกับครั้งแรก ให้เหลือ 60 ซีซี. เทใส่ขวดเก็บไว้ เวลาใช้เอาสำลีชุบน้ำยา ปิดบริเวณที่ปวดบวม
• ฝี แผลเปื่อย ผิวหนังอักเสบ ใช้ต้นสดพอประมาณ ใส่เกลือเล็กน้อย ตำให้แหลก พอกบริเวณที่เป็น
• เต้านมอักเสบ ใช้ต้นสด ตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็น
• ตาแดง ใช้ต้นสดจำนวนพอสมควร ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกบนหนังตา เอาผ้าก็อตที่สะอาดปิด เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง
สารเคมี : สารสำคัญคือ Lobeline, Flavone และ Inulin



ลิ้นมังกร





ชื่อสามัญ Mather - in - law's Tongue
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sancivieria..ตระกูล AGAVACEAE
ถิ่นกำเนิด แถบทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ
ลักษณะทั่วไป ลิ้นมังกรเป็นพรรณไม้ ที่มีลำต้นเป็นหัว หรือเหง้าอยู่ในดิน ลักษณะลำต้นเป็นข้อ ๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออมาพ้นดินเป็นกอ ลักษณะใบยาวปลายแหลม แข็งเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย ขอบใบมีสีเหลืองกลางใบสีเขียวอ่อน ประด้วยเส้นสีเขียวเข้ม ขนาดของใบกว้างปรมาณ 4-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านดอกประกอบด้วยกลุ่มดอกป็นชั้น ๆ ลักษณะดอกมีขนาดเล็ก ออเรียงกันเป็นแนวตามชั้นของก้านดอกดอกมีสีขาวมีกลีบประมาณ 5 กลีบ นาดดอกบานเต็มที่ 2 เซนติเมตร ลักษณะขนาดใบ และสีสรร จะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
เพิ่มเติม ต้นลิ้นมังกรมีลักษณะเป็นกาบ ใบแข็งเหมือนลิ้นงูหรือลิ้นมังกร ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ถ้าปลูกได้สมบูรณ์จะมีดอกเป็นช่อ ดอกเล็ก ๆ สีขาอมเขียว ดอกหอมอ่อน ๆ และเป็นยาวเหนียว ๆ คล้ายน้ำผึ้ง การปลูกควรใช้ดินร่วนซุย ไม่ต้องรดน้ำบ่อย ควรเปลี่ยนดินปีละครั้ง ถ้าปลูกในน้ำสามารถอยู่และเติบโตได้หลายปีโดยไม่ต้องเปลี่ยนกระถาง
คุณสมบัติในการช่วยขจัดสารพิษ
กลิ่นสีของบ้านที่ทาใหม่ๆ บ้านที่มีเด็กอ่อนเกิดใหม่ จะนิยมเอาไว้ในห้องเด็ก องค์การนาซ่าก็ได้มีการทดลองนำพันธุ์ไม้ชนิดนี้มาทดลองวิจัย ซึ่งก็ได้ผลวิจัยว่าต้นลิ้นมังกรจะมีลักษณะพิเศษกว่าพันธุ์ไม้ชนิดอื่นคือ จะคายอ๊อกซิเจน ในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะปล่อยคาร์บอนไดอ๊อไซน์ แทน ต้นลิ้นมังกรเป็นต้นไม้ที่ทนสภาพแล้งได้ดีมาก ในทางกลับกันก็สามารถอยู่ในที่มีน้ำขังได้อีกด้วยต้นลิ้นมังกร ( เอาทั้งต้นตลอดถึงราก ) จำนวนมากพอสมควร นำมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อดินต้มกับน้ำ ๓ ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือน้ำ ๑ ส่วน ผสมกับ น้ำตาลกรวด ( พอมีรสหวานเล็กน้อย ) ใช้น้ำยารับประทานเป็นประจำทุกวัน มีสรรพคุณแก้โรคความดันโลหิตสูงให้ลดลงตามลำดับจนเป็นปรกติยาแก้โรคความดันโลหิตสูง
สรรพคุณปลีกย่อย :
ใบ จะต้องเก็บจากต้นที่มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่แล้วซึ่งจะมีรสขม แก้ไอแห้ง ๆ เจ็บคอ หอบหืด บำรุงปอด ไอเป็นเลือดเสียงแหบแห้ง และรักษาโรคที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน โดยใช้ใบแห้ง 10-30 กรัมแต่ใบสดใช้ 7-8 กรัม นำมาต้มใช้รักษาโรค
ดอก แก้กระอักเลือด และไอเป็นเลือด ใช้ดอกสดต้มน้ำกิน
ตำรับยา :
1 ไอเป็นเลือด กระอักเลือด ใช้ใบสด 10-15 กรัม. ต้มกับน้ำทานหรือผสมกับเนื้อหมู(สัน)ต้มกับน้ำแกงกิน
2 ไอมีเสลดเหนียว หรือไอแห้ง ๆใช้ใบสด 7-8 ใบกับผลอินทผลัม 4 ผลต้มกับน้ำทาน หรือถ้าเป็นใบแห้งให้ใช้ประมาณ 15 กรัม ต้มผสมกับเนื้อหมูแล้วทานแค่น้ำ
3 หลอดลมอักเสบ หอบหืดหรือโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจให้ใช้ใบสด 7-8 ใบหรือแห้ง 15 กรัมต้มน้ำทาน

หมายเหตุ : พรรณพืชชนิดนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้บางชนิด

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก www.maipradabonline.com/maipradabin/linmungon.htm

ตำแหน่งที่ปลูกเพื่อเสริมฮวงจุ้ย

ตำแหน่งที่ปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลและเสริมฮวงจุ้ยให้แก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร



ส้มกบ




ชื่อพื้นภาคอีสาน ส้มกบ
ชื่อทั่วไป อุโลก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hymenodictyon exelsum Wall.
วงศ์ Rubiaceae
ประเภท ไม้ยืนต้น
ลักษณะวิสัย อุโลกเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น เป็นชั้นๆ ใบรูปหอกปลายและโคนแหลม สีเขียวเข้ม เส้นใบสีอ่อน ออกขาว ก้านใบยาว ออกรวมๆกันบริเวณปลายกิ่ง � เปลือกต้นสีค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลเทา ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ เกิดตามป่าราบทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ประโยชน์ เปลือกต้น แก่น แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ราก แก้ไข้พิษ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
บริเวณที่พบ


หูปลาช่อน




ชื่อวิทยาศาสตร์ / ชื่อวงศ์ : Emilia sonchifolia ( l ) DC. / Cacalica sonchifolia Linn.
ลักษณะวิสัย : ไม้พุ่ม
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ประดับ
บริเวณที่พบ : อาคาร สมาคมฯ และอาคารอลงกรณ์ศิลป์
ลักษณะ :
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกมีลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 4 - 18 นิ้ว ลำต้นปกคลุมด้วยขนนุ่มทั่วไป
ใบ ใบมีลักษณะหุ้มห่อลำต้น ปลายใบแหลมเรียว โคนใบกว้างเป็นรูปไข่ ริมขอบใบหยักเว้า หลังใบมี สีเขียวเข้มใต้ท้องใบมีสีม่วงแดง
ดอก ออกดอกเป็นช่อ ตามบริเวณกลางลำต้น ช่อหนึ่งจะแยกออกเป็น 2 แขนง ลักษณะของดอกเล็ก กลีบดอกส่วนใหญ่จะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ดอกมีสีแดงเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ผล ผลเป็นผลเดี่ยว เปลือกแข็งผลแห้งจะไม่แตกหรืออ้าออก
ประโยชน์ : ข้อมูลจากเอกสาร 1) นิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวนหย่อม 2) สรรพคุณทางยา ใช้ลำต้นสด แห้ง นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้เจ็บคอ ต่อมทอมซิลอักเสบ รากใช้ราดสดนึ่งกับเนื้อหมูแดงให้เด็กกินแก้โรคตานซางขโมย เอกสารอ้างอิง : วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม,2531. ไม้ดอกไม้ประดับ. พิมพ์ครั้งที่ 1 โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส กรุงเทพฯ . 981 หน้า : 827 –829